การเขียนการทำงานในลักษณะของลอจิกฟังก์ชัน สามารถนำเขียนเป็นวงจรลอจิกได้โดยพิจารณาจาก
การกระทำทางลอจิกภายในลอจิกฟังก์ชัน ในทางกลับกันสำหรับการเขียนลอจิกฟังก์ชันจากวงจรลอจิก
สามารถทำได้โดยพิจารณาการทำงานของลอจิกเกตแต่ละตัวในวงจรแล้วนำมาเขียนเป็นลอจิกฟังก์ชันรวมสำหรับการทำงานของวงจรลอจิก
การเขียนสมการลอจิก (LOGIC EXPRESSION)
เนื่องจากวงจรลอจิกได้ถูกนำไปใช้ในระบบสวิตลิ่งของเครื่องชุมสามโทรศัพท์แบบอัตโนมัติ และปัจจุบันวงจรลอจิกได้มีบทบาทในการรับ - ส่งข้อมูลต่างๆเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การเขียน
สมการลอจิกเพื่อใช้ในการออกแบบวงจรลอจิก ซึ่งจะได้นำไปใช้ได้ตามความต้องการและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การเขียนสมการลอจิกเต็มรูป
การเขียนสมการลอจิกก็คือการเขียนฟังก์ชั่นสวิตชิ่ง (Switching Function) ในรูปแบบการทำพื้น ฐานทางลอจิกนั้นเอง ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
- ฟังก์ชั่นเต็มรูปแบบ ผลบวกของเทอมผลคูณ (Canonical Sum of Product Form) หมายถึง การนำตัวแปรซึ่งอยู่ในรูปปกติและรูปคอมพลีเมนต์มา AND กัน
ซึ่งเราเรียกเทอมที่ AND กันนี้ว่า มินเทอม (Minterm) แล้วจึงนำมินเทอมแต่ละเทอมมา OR กันอีกที ดังตัวอย่าง
ฟังก์ชั่นที่มี 3 ตัวแปร คือ A, B และ C จะเขียนได้เป็น
f(A,B,C) = B +AB + BC
โดยที่ f(A,B,C) เป็นฟังก์ชั่นสวิตชิ่งของตัวแปรลอจิกA, B และ C ซึ่งค่าของฟังก์ชั่น f จะเป็นได้2 ค่า คือ 0 หรือ 1 ขึ้นอยู่กับตัวแปร A, B, C ทั้ง 3 ตัว นอกจากนี้ อาจเขียนให้อยู่ในรูปของมินเทอมได้ดังนี้
f(A,B,C) = m2+m6+m3 (m=มินเทอม)
เพื่อความสะดวกอาจเขียนได้ดังนี้


- ฟังก์ชั่นในรูปเต็มแบบผลคูณของเทอมผลบวก
1. เขียนเทอม OR (แมกเทอม) ของแต่ละกรณีของการจัดหมู่ของตัวแปรอินพุตในตารางความจริงที่มีเอาต์พุตเป็น "0"
2. แต่ละเทอม OR (แมกเทอม) มีตัวแปรอินพุตอยู่ในรูปคอมพลีเมนต์หรือรูปปกติ (ถ้าตัวแปร ใดเป็น 1 ตัวแปรนั้นจะมีเครื่องหมายคอมพลีเมนต์
3. นำเทอม OR (แมกเทอม)

การเขียนสมการลอจิกจากวงจรลอจิก
การเขียนสมการลอจิกหรือฟังก์ชั่นสวิตชิ่ง (Switching Function) จากวงจรลอจิกที่กำหนดให้นั้น วิธีเขียนต้องเริ่มต้นจากทางด้าน Input มาทาง Output
เรื่อยๆ ไปตามลำดับ
ดังตัวอย่างนี้จงหาสมการลอจิกทางเอาร์พุตของเกตทุกตัวจากวงจรลอจิก

การเขียนวงจรลอจิกจากสมการลอจิก
1. ถ้าในสมการลอจิกมีวงเล็บ จะต้องทำในวงเล็บในสุดก่อน แล้วจึงจะทำวงเล็บนอก
2. สำหรับตัวกระทำเราจะทำ NOT ก่อน ตามด้วย AND ท้ายสุดจะทำ OR (ในกรณีเครื่องหมาย NOT อยู่บนเทอมที่มีการกระทำกันอีก ในกรณีนี้จะต้องทำเทอมที่อยู่ใต้เครื่องหมาย NOT ก่อน แล้วจึงจะทำ NOT) เพื่อความเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง
จงเขียนวงจรลอจิกจากสมการลอจิกนี้
X = AB + C
วิธีทำ
- เนื่องจากไม่มีวงเล็บ เราจึงทำเทอม AND ก่อน
- เทอม AND มี 2 ชุด แต่ชุดหลังมี NOT จึงต้องทำ NOT ก่อน ได้เป็น
- ทำเทอม AND ชุดแรกได้เป็น AB
- เมื่อทำ AND เสร็จแล้ว จึงมาทำ OR ก็จำนำเอาต์พุตจาก AND เกต
แต่ละชุด มา OR กัน จึงจะได้เอาต์พุต X
ดังรูป